Manga
ในบรรดาสื่อที่เกี่ยวกับการ์ตูน มังงะเป็นสื่อที่เข้าถึงกลุ่มผู้อ่านได้กว้างกว่าเพราะราคาไม่แพงและหาซื้อง่าย อีกทั้งมีภาพประกอบ ทำให้ไม่ต้องใช้จินตนาการมาก และง่ายต่อการดัดแปลงเป็นอนิเมะ สำหรับผู้ชมถ้ารู้ว่าสร้างจากมังงะชื่อดังหรือเคยดู อาจได้รับความสนใจง่ายกว่าสื่ออื่น รวมถึงกลุ่มคนที่อยากเห็นแบบภาพเคลื่อนไหวก็สนใจติดตามชมกันแต่ก็เป็นสื่อที่มีปัญหามากสุด เพราะถูกเปรียบเทียบกับต้นฉบับ, บางเรื่องคนพอใจกับอ่านมังงะมากกว่า, ปัญหามังงะที่ตีพิมพ์หลายเล่ม, ลายเส้นจากมังงะและลายเส้นอาจารย์บางท่านก็ยากจะเลียนแบบ ทำให้เกิดความแตกต่างได้ อีกทั้งมังงะส่วนใหญ่จะเนื้อหาไม่ซับซ้อนมาก ทำให้ไม่ค่อยค่อยมีแนวที่แปลกใหม่ที่น่าสนใจนัก สำหรับแนวซับซ้อนมาก มีโอกาสสูงที่จะโดนสปอยล์ตามเว็บบอร์ดหรือสื่อโซเชียลต่างๆ
Light Novel
Light Novel เป็นนิยายที่เน้นกลุ่มเป้าหมายเป็นวัยรุ่น เป็นสื่อที่ได้รับความนิยมมากขึ้น ในช่วงหลังปี 2004 เป็นต้นมา เพราะเนื้อหาส่วนใหญ่ไม่ต่างจากการ์ตูนทั่วไป เพียงแต่เป็นตัวหนังสือ ทำให้เนื้อหาละเอียดกว่ามังงะที่ถูกจำกัดด้วยหน้าในแต่ละตอน อีกทั้งผู้ชมส่วนใหญ่ก็น้อยกว่ามังงะมาก ทำให้ไม่ค่อยรู้ความเปลี่ยนแปลงบางอย่างในเวอร์ชั่นอนิเมะและไม่ต้องห่วงเรื่องสปอยล์นัก เพราะผู้ชมส่วนใหญ่ก็พอมีวุฒิภาวะขึ้นมาจากกลุ่มมังงะหน่อย แต่ด้านข้อเสียก็มีไม่น้อย เพราะเนื้อหาที่ลึกกว่า ทำให้การตัดทอนหรือดัดแปลงรายละเอียดบางอย่างจะสร้างความรู้สึกที่ไม่ดีต่อผู้ที่เคยอ่านไลท์โนเวลมาก่อน อีกทั้งจะคงเนื้อเรื่องเดิมไว้ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายข้อเสียที่เห็นชัดอีกอย่างสำหรับคนที่ไม่เคยอ่านนิยายมาก่อนเลย คือ จุด Climax จะอยู่ประมาณท้ายนิยายเล่ม 1 ใช้เวลาประมาณ 4 – 5 ตอน เนื้อหาช่วงแรกอาจไม่เข้มข้นต่างจากมังงะที่พยายามเรียกเรตติ้งตั้งแต่แรก ทำให้ผู้ชมอาจดรอปไปก่อนที่จะถึงจุดสนุก ซึ่งต้องวัดฝีมือทีมงานว่าจะสื่อให้ผู้ชมให้ติดตามได้ดีแค่ไหน
Visual Novel และ Game เน้นเนื้อเรื่อง
Visual Novel เป็นเกมประเภทที่เน้นเนื้อเรื่อง อาจเป็นบทสนทนาอย่างเดียว, Date Sim, Simulation หรือ RPG กลุ่มนี้อาจมีภาพเคลื่อนไหวและเพลงประกอบ ทำให้จินตนาการได้ชัดเจนกว่า Light Novel ด้านเนื้อเรื่องก็ละเอียดไม่แพ้กัน และอาจทำให้เข้าใจง่ายกว่า เพราะสามารถจัดข้อมูลได้เป็นหมวดหมู่กว่ากระดาษ และเนื้อหาส่วนใหญ่จบในภาค ไม่ต้องรอภาคต่อแบบมังงะและไลท์โนเวล ด้านข้อเสียคล้ายกับ Light Novel อีกอุปสรรค ด้านการดัดแปลงเนื้อหา, จุดไคล์แม็กที่มาช้ามาก ยิ่ง Visual Novel กว่าจะมาอาจจะมากลางเรื่อง ซึ่งผู้ชมอาจรอไม่ไหวปัญหาที่เพิ่มมาอีกข้อ สำหรับเกมจีบสาว คือ พวกจบได้หลายแบบ ต้องวางแผนให้ดีอีก เพราะถ้าจบแบบสาวๆ ทีละคนก็ไม่ค่อยมีดราม่าและการแข่งขัน แต่ถ้ามีก็ทำให้แฟนอวยฝ่ายเสียเปรียบอาจไม่พอใจ ส่วนเกมที่มีความยาว 20 – 50 ชั่วโมง ก็ต้องตัดเนื้อเรื่องให้พอดีกับอนิเมะ 4 – 8 ชั่วโมง ต่างจากนิยายที่อาจตัดให้ลงตัวได้ง่ายกว่าเพราะไม่จำเป็นต้องทำจนจบ ส่วนเกมประเภทเก็บเลเวล จะมีปัญหาในเรื่องอารมณ์ร่วมตอนเก็บเลเวลและล่าของที่หายไป เช่น Tales of Abyss หรือ Persona 4
Original TV Anime
Original หมายถึง อนิเมะที่ไม่เคยผลิตในสื่ออื่นมาก่อน สร้างเพื่ออนิเมะโดยเฉพาะ ทุกอย่างจึงปรับได้ลงตัวกว่ามาก เห็นบ่อยในอนิเมะแนวหุ่นยนต์เพราะเป็นแนวที่เน้นภาพเคลื่อนไหวกว่าประเภทอื่น เนื้อหาสดใหม่ คาดเดายาก และจบได้อย่างลงตัวตามจำนวนตอนที่กำหนด ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนความเห็นกันบ่อยครั้งในระหว่างที่ฉายข้อเสียของการไม่เคยทำสื่อไหนมาก่อน ทำให้การันตีความสำเร็จยากจนผู้ชมอาจดรอประหว่างทางเพราะไม่รู้ว่าจะสนุกหรือเปล่า ปัญหานี้เคยเกิดแบบหนักๆ ช่วง Angel Beat! ที่ยังฉายไม่จบ แต่พอผ่านไปถึงตอน 9 จนถึงตอนจบก็กลายเป็นเรื่องดังมากเรื่องหนึ่ง ส่วนข้อเสียใหญ่อีกอย่าง คือ ทางผู้ผลิตต้องคาดหวังในตัวคนแต่งเรื่องและผู้กำกับมากเช่นกัน เป็นความเสี่ยงที่สูงเกินไปจนไม่ค่อยอยากมีบริษัทไหนอยากเสี่ยง ไปลุ้นกับสื่อประเภทอื่นดีกว่า
ทั้ง 4 ประเภทไม่สามารถวัดกันได้ว่าแบบไหนสนุกกว่าเพราะขึ้นกับฝีมือบริษัทที่ดูแล และทีมงานที่เกี่ยวข้องอีก แต่ อาจพอเป็นไกด์ได้นิดหน่อย อย่างเช่น คนเบื่ออนิเมะจากมังงะสายหลัก ก็ลองหาอนิเมะจาก Light Novel หรือ Game ที่เนื้อหาแน่นๆ หรือถ้ารู้สึกขัดใจกับการตัดบทในอนิเมะก็ลองไปหาต้นฉบับเพื่อให้เข้าใจเนื้อเรื่องมากยิ่งขึ้น
Read more: http://www.anime-th.com/2013/05/anime-adaption-from-manga-light-novel-game-original-tv.html#ixzz2aMVogTnW